ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย
ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
1. จิตรกรรมไทย
2. ประติมากรรมไทย
3. สถาปัตยกรรมไทย
จิตรกรรมไทย Thai Painting
จิตรกรรมไทย หมายถึง ภาพเขียนที่มีลักษณะเป็นแบบอย่างของไทยที่แตกต่าง
จากศิลปะของชนชาติอื่นอย่างชัดเจน ถึงแม้จะมีอิทธิพลศิลปะของชาติอื่นอยู่บ้าง แต่ก็สามารถ ดัดแปลงคลี่คลายตัดทอน หรือเพิ่มเติมจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองได้อย่างสวยงาม ลงตัว น่าภาคภูมิใจ และมีวิวัฒนาการทางด้านด้านรูปแบบวิธีการมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถพัฒนาต่อไปอีกในอนาคต
ลายไทย เป็นส่วนประกอบของภาพเขียนไทยใช้ตกแต่งอาคารสิ่งของเครื่องใช้
ต่าง ๆ เครื่องประดับ ฯลฯ เป็นลวดลายที่มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันซึ่งนำเอารูปร่างจาก
ธรรมชาติมาประกอบ เช่น ลายกนก ลายกระจัง ลายประจำยาม ลายเครือเถา เป็นต้นหรือเป็นรูปที่มาจากความเชื่อและคตินิยม เช่น รูปคน รูปเทวดา รูปสัตว์ รูปยักษ์ เป็นต้น
จากศิลปะของชนชาติอื่นอย่างชัดเจน ถึงแม้จะมีอิทธิพลศิลปะของชาติอื่นอยู่บ้าง แต่ก็สามารถ ดัดแปลงคลี่คลายตัดทอน หรือเพิ่มเติมจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองได้อย่างสวยงาม ลงตัว น่าภาคภูมิใจ และมีวิวัฒนาการทางด้านด้านรูปแบบวิธีการมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถพัฒนาต่อไปอีกในอนาคต
ลายไทย เป็นส่วนประกอบของภาพเขียนไทยใช้ตกแต่งอาคารสิ่งของเครื่องใช้
ต่าง ๆ เครื่องประดับ ฯลฯ เป็นลวดลายที่มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันซึ่งนำเอารูปร่างจาก
ธรรมชาติมาประกอบ เช่น ลายกนก ลายกระจัง ลายประจำยาม ลายเครือเถา เป็นต้นหรือเป็นรูปที่มาจากความเชื่อและคตินิยม เช่น รูปคน รูปเทวดา รูปสัตว์ รูปยักษ์ เป็นต้น
จิตรกรรมไทยเป็นวิจิตรศิลป์อย่างหนึ่ง ซึ่งส่งผลสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ มีคุณค่าทางศิลปะ และเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า เรื่องที่เกี่ยวกับศาสนา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชีวิตความเป็นอยู่วัฒนธรรมการแต่งกาย ตลอดจนการแสดงการเล่มพื้นเมืองต่าง ๆ ของแต่ละยุคสมัยและสาระอื่น ๆ ที่ประกอบกันเป็นภาพจิตรกรรมไทย งานจิตรกรรมให้ความรู้สึกในความงามอันบริสุทธิ์ น่าชื่นชม เสริมสร้างสุนทรียภาพขึ้นในจิตใจมวลมนุษยชาติได้โดยทั่วไป วิวัฒนาการของงานจิตรกรรมไทย แบ่งออกตามลักษณะรูปแบบทางศิลปกรรม ที่ปรากฎในปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบ คือ
1. จิตรกรรมไทยแบบประเพณี (Thai Traditional Painting) เป็นศิลปะที่มีความประณีตสวยงาม แสดงความรู้สึกชีวิติจิตใจและความเป็นไทย ที่มีความอ่อนโยนละมุนละไม สร้างสรรค์สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีต จนได้ลักษณะประจำชาติ มีลักษณะประจำชาติที่มีลักษณะและรูปแบบเป็นพิเศษ นิยมเขียนบนฝาผนังภายในอาคารที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา และอาคารที่เกี่ยวกับบุคคลชั้นสูง เช่น โบสถ์ วิหาร พระที่นั่ง วัง บนผืนผ้า บนกระดาษ และบนสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ โดยเขียนด้วยสีฝุ่น ตามกรรมวิธีของช่างเขียนไทยแต่โบราณ เนื้อหาที่เขียนมักเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอดีตพุทธ พุทธประวัติ ทศชาติชาดก ไตรภูมิ วรรณคดีและชีวิตไทย พงศาวดารต่าง ๆ ส่วนใหญ่นิยมเขียนประดับฝนังพระอุโบสถวิหารอันเป็นสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ประกอบพิธีทางศาสนา ลักษณะจิตรกรรมไทยแบบประเพณีเป็นศิลปะแบบอุดมคติ (Idealistic)ผนวกเข้ากับเรื่องราวที่กึ่งลึกลับมหัศจรรย์ ซึ่งคล้ายกับงานจิตรกรรมในประเทศแถบตะวันออกหลาย ๆ ประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา จีน และญี่ปุ่น เป็นต้น เป็นภาพที่ระบายสีแบนเรียบ ด้วยสีค่อนข้างสดใส และมีการตัดเส้นเป็นภาพ 2 มิติ ให้ความรู้สึกเพียงด้านกว้างและยาว ไม่มีความลึก ไม่มีการใช้แสงและเงามาประกอบ จิตรกรรมไทยแบบประเพณีมีลักษณะพิเศษในการจัดวางภาพแบบเล่าเรื่องเป็นตอน ๆ ตามผนังช่องหน้าต่าง โดยรอบโบสถ์วิหารและผนังด้าน
หน้าและหลังพระประธาน ภาพจิตรกรรมไทยมีการใช้สีแตกต่างกันออกไปตามยุคสมัย ทั้งเอกรงค์ และหหุรงค์ โดยเฉพาะการใช้สีหลาย ๆ สีแบบพหุรงค์นิยมมากในสมัยรัตนโกสินทร์ เพราะได้สีจากต่างประเทศที่เข้ามาติดต่อค้าขายด้วย ทำให้ภาพจิตรกรรมไทยมีความสวยงาม และสีสันที่หลากหลายมากขึ้น
หน้าและหลังพระประธาน ภาพจิตรกรรมไทยมีการใช้สีแตกต่างกันออกไปตามยุคสมัย ทั้งเอกรงค์ และหหุรงค์ โดยเฉพาะการใช้สีหลาย ๆ สีแบบพหุรงค์นิยมมากในสมัยรัตนโกสินทร์ เพราะได้สีจากต่างประเทศที่เข้ามาติดต่อค้าขายด้วย ทำให้ภาพจิตรกรรมไทยมีความสวยงาม และสีสันที่หลากหลายมากขึ้น
รูปแบบลักษณะตัวภาพในจิตรกรรมไทยซึ่งจิตรกรไทยได้สร้างสรรค์ออกแบบไว้ เป็นรูปแบบอุดมคติที่แสดงออกทางความคิดให้สัมพันธ์กับเนื้อเรื่องและความสำคัญของภาพ เช่น รูปเทวดา นางฟ้า กษัตริย์ นางพญา นางรำ จะมีลักษณะเด่นงามสง่า ด้วยลีลาอันชดช้อย แสดงอารมณ์ความรู้สึกปิติยินดี หรือเศร้าโศกเสียใจด้วยอากัปกิริยาท่าทาง ถ้าเป็นรูปยักษ์ มาร ก็แสดงออกด้วยท่างทางที่บึกบึน แข็งขัน ส่วนพวกวานรแสดงความลิงโลด คล่องแคล่วว่องไวด้วยลีลาท่วงท่าและหน้าตา สำหรับพวกชาวบ้านธรรมดาสามัญก็จะเน้นความตลกขบขัน สนุกสนานร่าเริงหรือเศร้าเสียใจออกทางใบหน้า ส่วนช้างม้าเหล่าสัตว์ทั้งหลายก็มีรูปแบบแสดงชีวิตเป็นธรรมชาติ ซึ่งจิตรกรไทยได้พยายามศึกษา ถ่ายทอดอารมณ์ สอดแทรกความรู้สึกในรูปแบบได้
อย่างลึกซึ้ง เหมาะสม สวยงาม เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชนชาติไทยที่น่าภาคภูมิใจ สมควรจะได้อนุรักษ์สืบทอดให้เป็นมรดกของชาติสืบไป
อย่างลึกซึ้ง เหมาะสม สวยงาม เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชนชาติไทยที่น่าภาคภูมิใจ สมควรจะได้อนุรักษ์สืบทอดให้เป็นมรดกของชาติสืบไป
2. จิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย (Thai Contempolary Painting)จิตรกรรมไทยร่วมสมัย เป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการของโลก
ความเจริญทางการศึกษา การคมนาคม การพาณิชย์ การปกครอง การรับรู้ข่าวสารความเป็นไปของโลกที่อยู่ห่างไกล ฯลฯ เหล่านี้ล้วนมีผลต่อความรู้สึกนึกคิด และแนวทางการแสดงออกของศิลปินในยุคต่อๆ มา ซึ่งได้พัฒนาไปตามสภาพแวดล้อม ความเปลี่ยนแปลงของชีวิต ความเป็นอยู่ ความรู้สึกนึกคิดและความนิยมในสังคม
สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ใหม่ของวัฒนธรรมไทยอีกรูปแบบหนึ่งอย่างมีคุณค่าเช่นดียวกัน อนึ่ง สำหรับลักษณะเกี่ยวกับจิตรกรรมไทยร่วมสมัยนั้น ส่วนใหญ่เป็นแนวทางเดียวกันกับลักษณะศิลปะแบบตะวันตกในลัทธิต่าง ๆ ตามความนิยมของศิลปินแต่ละคน
ความเจริญทางการศึกษา การคมนาคม การพาณิชย์ การปกครอง การรับรู้ข่าวสารความเป็นไปของโลกที่อยู่ห่างไกล ฯลฯ เหล่านี้ล้วนมีผลต่อความรู้สึกนึกคิด และแนวทางการแสดงออกของศิลปินในยุคต่อๆ มา ซึ่งได้พัฒนาไปตามสภาพแวดล้อม ความเปลี่ยนแปลงของชีวิต ความเป็นอยู่ ความรู้สึกนึกคิดและความนิยมในสังคม
สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ใหม่ของวัฒนธรรมไทยอีกรูปแบบหนึ่งอย่างมีคุณค่าเช่นดียวกัน อนึ่ง สำหรับลักษณะเกี่ยวกับจิตรกรรมไทยร่วมสมัยนั้น ส่วนใหญ่เป็นแนวทางเดียวกันกับลักษณะศิลปะแบบตะวันตกในลัทธิต่าง ๆ ตามความนิยมของศิลปินแต่ละคน
ความสำคัญของจิตรกรรมไทย
จิตรกรรมไทยเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล แบบสหวิทยาการ ถือได้ว่าเป็นแหล่งขุมความรู้โดยเฉพาะเรื่องราวจากอดีตที่สำคัญยิ่ง แสดงให้เห็นถึงความเป็นชนชาติที่มี
อารยธรรมอันเก่าแก่ยาวนาน ประโยชน์ของงานจิตรกรรมไทย นอกจากจะให้ความ สำคัญในเรื่องคุณค่าของงานศิลปะแล้ว ยังมีคุณค่าในด้านอื่น ๆ อีกมาก ดังนี้
อารยธรรมอันเก่าแก่ยาวนาน ประโยชน์ของงานจิตรกรรมไทย นอกจากจะให้ความ สำคัญในเรื่องคุณค่าของงานศิลปะแล้ว ยังมีคุณค่าในด้านอื่น ๆ อีกมาก ดังนี้
1. คุณค่าในทางประวัติศาสตร์
2. คุณค่าในทางศิลปะ
3. คุณค่าในเรื่องเชื้อชาติ
4. คุณค่าในทางสถาปัตยกรรม
5. คุณค่าในเชิงสังคมวิทยา
6. คุณค่าในด้านโบราณคดี
7. คุณค่าในการศึกษาประเพณีและวัฒนธรรม
8. คุณค่าในการศึกษาเรื่องทัศนคติค่านิยม
9. คุณค่าในการศึกษานิเวศวิทยา
10. คุณค่าในการศึกษาเรื่องราวทางพุทธศาสนา
11. คุณค่าในทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยว
ประติมากรรมไทย Thai Sculpture
หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกโดยกรรมวิธีการปั้น การแกะสลัก การหล่อ หรือการประกอบเข้าเป็นรูปทรง 3 มิติ ซึ่งมีแบบอย่างเป็นของไทยโดยเฉพาะ วัสดุที่ใช้ในการสร้างมักจะเป็น ดิน ปูน หิน อิฐ โลหะ
ไม้ งาช้าง เขาสัตว์ กระดูก ฯลฯ ผลงานประติมากรรมไทย มีทั้งแบบนูนต่ำ นูนสูง และลอยตัว งานประติมากรรมนูนต่ำและนูนสูงมักทำเป็นลวดลายประกอบกับสถาปัตยกรรม เช่นลวดลายปูนปั้น ลวดลายแกะสลักประดับตามอาคารบ้านเรือนโบสถ์วิหาร พระราชวัง ฯลฯ นอกจาก
นี้ยังอาจเป็นลวดลายตกแต่งงานประติมากรรม แบบลอยตัวด้วย สำหรับงานประติมากรรมแบบลอยตัว มักทำเป็นพระพุทธรูป เทวรูป รูปเคารพต่าง ๆ ตุ๊กตา ภาชนะดินเผา ตลอดจนถึงเครื่องใช้ต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามสกุลช่างของแต่ละท้องถิ่น หรือแตกต่างกันไป ตามคตินิยมในแต่ละยุคสมัย โดยทั่วไปแล้วเรามักศึกษาลักษณะของสกุล
ช่างที่เป็นรูปแบบของศิลปะสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทยจากลักษณะของพระพุทธรูป เนื่องจาก เป็นงานที่มีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จัดสร้างอย่างปราณีตบรรจง ผู้สร้างมักเป็นช่างฝีมือที่เชี่ยวชาญที่สุดในท้องถิ่นหรือยุคสมัยนั้น และเป็นประติมากรรมที่มีวิธีการจัดสร้างอย่าง
ศักดิ์เปี่ยมศรัทธา ลักษณะของประติมากรรมของไทยในสมัยต่าง ๆ สามารถลำดับได้ดังนี ้
ไม้ งาช้าง เขาสัตว์ กระดูก ฯลฯ ผลงานประติมากรรมไทย มีทั้งแบบนูนต่ำ นูนสูง และลอยตัว งานประติมากรรมนูนต่ำและนูนสูงมักทำเป็นลวดลายประกอบกับสถาปัตยกรรม เช่นลวดลายปูนปั้น ลวดลายแกะสลักประดับตามอาคารบ้านเรือนโบสถ์วิหาร พระราชวัง ฯลฯ นอกจาก
นี้ยังอาจเป็นลวดลายตกแต่งงานประติมากรรม แบบลอยตัวด้วย สำหรับงานประติมากรรมแบบลอยตัว มักทำเป็นพระพุทธรูป เทวรูป รูปเคารพต่าง ๆ ตุ๊กตา ภาชนะดินเผา ตลอดจนถึงเครื่องใช้ต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามสกุลช่างของแต่ละท้องถิ่น หรือแตกต่างกันไป ตามคตินิยมในแต่ละยุคสมัย โดยทั่วไปแล้วเรามักศึกษาลักษณะของสกุล
ช่างที่เป็นรูปแบบของศิลปะสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทยจากลักษณะของพระพุทธรูป เนื่องจาก เป็นงานที่มีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จัดสร้างอย่างปราณีตบรรจง ผู้สร้างมักเป็นช่างฝีมือที่เชี่ยวชาญที่สุดในท้องถิ่นหรือยุคสมัยนั้น และเป็นประติมากรรมที่มีวิธีการจัดสร้างอย่าง
ศักดิ์เปี่ยมศรัทธา ลักษณะของประติมากรรมของไทยในสมัยต่าง ๆ สามารถลำดับได้ดังนี ้
ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 11-16
ศูนย์กลางของอาณาจักรทวาราวดีของชนชาติมอญ ละว้า อยู่แถบนครปฐม ราชบุรี อู่ทอง และกินพื้นที่ไปจนถึงภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงหนือ แถบ บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี และขึ้นมาทางเหนือแถบลำพูน ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี คือ พระเกตุมาลาเป็นต่อมนูน และสั้น พระพักตร์ แบนกว้าง พระหนุป้าน พระนาฏแคบ พระนาสิกป้านใหญ่พระโอษฐ์หนา พระหัตถ์และพระบาทใหญ่
ศิลปะศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 13 - 18
อาณาจักรศรีวิชัยอยู่ทางภาคใต้ มีศูนย์กลางอยู่ที่ชวาภาคกลาง และมีอาณาเขตมาถึงทางภาคใต้ของไทย มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุ สมัยศรีวิชัยอยุ่มากมายทั่วไป โดยเฉพาะที่เมืองไชยา จ.สุราษฎร์ธานี นิยมสร้างรูปพระโพธิสัตว์มากกว่าพระพุทธรูป เนื่องจากสร้างตามลัทธิมหายาน พระพุทธรูปสมัยศรีวิชัยมีลักษณะสำคัญ คือ พระวรกาย อวบอ้วนได้ส่วนสัด พระโอษฐ์เล็กได้สัดส่วน พระพักตร์คล้ายพระพุทธรูปเชียงแสน
ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 16 - 18
ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 16 - 18
ศิลปะลพบุรีพบที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดจนในประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นของ ชนชาติ ขอม แต่เดิมเป็นศิลปะขอม แต่เมื่อชนชาติไทยเข้ามาครอบดินแดนแถบนี้ และมีการผสมผสานศิลปะขอมกับศิลปะไทย จึงเรียกว่า ศิลปะลพบุรี ลักษณะที่สำคัญของพระพุทธรูปแบบลพบุรีคือ พระพักตร์นั้นออกเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีพระ
เนตรโปน พระโอษฐ์แบะกว้าง พระเกตุมาลาทำเป็นต่อมพูน บางองค์เป็นแบบฝาชีครอบ พระนาสิกใหญ่ พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระกรรณยาวย้อยลงมาและมีกุณฑลประดับด้วยเสมอ
เนตรโปน พระโอษฐ์แบะกว้าง พระเกตุมาลาทำเป็นต่อมพูน บางองค์เป็นแบบฝาชีครอบ พระนาสิกใหญ่ พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระกรรณยาวย้อยลงมาและมีกุณฑลประดับด้วยเสมอ
ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 16 – 21
ศิลปะล้านนา หรือศิลปะเชียงแสน อยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทยและมีลักษณะเก่าแก่มาก คาดว่ามีการสืบทอดต่อเนื่องของศิลปะทวาราวดีและลพบุรี ในดินแดนแถบนี้มาตั้งแต่สมัยหริภุญชัย ศูนย์กลางของศิลปะล้านนาเดิมอยู่ที่เชียงแสน เรียกว่าอาณาจักรโยนก ต่อมาเมื่อพญามังราย
ได้ย้ายมาสร้างเมืองเชียงใหม่ ศูนย์กลางของของอาณาจักรล้านนาก็อยู่ที่เมืองเชียงใหม่สืบต่อมาอีกเป็นเวลานาน ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูป ศิลปะล้านนา ซึ่งมักเรียกว่า แบบเชียงแสน คือ พระวรกายอวบอูม พระ
พักตร์อิ่ม ยิ้มสำรวม กระเกตุมาลาเป็นรูปต่อมกลม และดอกบัวตูม ไม่มีไรพระศก พระศกเป็นแบบก้นหอย พระขนงโก่งรับพระนาสิกงุ้มเล็กน้อย ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน พระอุระนูนดังราชสีห์ท่านั่งขัดมาธิเพชร
ได้ย้ายมาสร้างเมืองเชียงใหม่ ศูนย์กลางของของอาณาจักรล้านนาก็อยู่ที่เมืองเชียงใหม่สืบต่อมาอีกเป็นเวลานาน ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูป ศิลปะล้านนา ซึ่งมักเรียกว่า แบบเชียงแสน คือ พระวรกายอวบอูม พระ
พักตร์อิ่ม ยิ้มสำรวม กระเกตุมาลาเป็นรูปต่อมกลม และดอกบัวตูม ไม่มีไรพระศก พระศกเป็นแบบก้นหอย พระขนงโก่งรับพระนาสิกงุ้มเล็กน้อย ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน พระอุระนูนดังราชสีห์ท่านั่งขัดมาธิเพชร
ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 17 – 20
อาณาจักรสุโขทัย นับเป็นอาณาจักรแรกของคนไทย ศิลปะสุโขทัยจึงนับเป็นสกุลศิลปะแบบแรกของชนชาติไทย ที่ผ่านการคิดค้น สร้างสรรค์คลี่คลาย สังเคราะห์บ บนแผ่นดินที่เป็นปึกแผ่นมั่นคง จนได้รูปแบบที่งดงามพระพุทธรูปสุโขทัย ถือว่ามีความงามตามอุดมคติไทยอย่างแท้จริง ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปสุโขทัย คือ พระวรกายโปร่ง เส้นรอบนอกโค้งงามได้จังหวะ พระพักตร์รูปไข่ยาวสมส่วน ยิ้มพองาม พระขนงโก่ง รับกับพระนาสิกที่งุ้มเล็กน้อย พระโอษฐ์แย้มอิ่ม ดูสำรวม มีเมตตา พระเกตุมาลารูปเปลวเพลิง พระสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี พระศกแบบก้นหอย ไม่มีไร พระศก พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยมีความงดงามมาก ที่มีชื่อเสียงมากได้แก่พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศาสดา พระพุทธไตรรัตนายก และพระพุทธรูปปางลีลา นอกจากพระพุทธรูปแล้ว ในสมัยสุโขทัยยังมีงานประติมากรรมที่มีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งคือ เครื่องสังคโลก ซึ่งเป็นเครื่องปั้นดินเผาสมัยสุโขทัยที่มีลักษณะเฉพาะ มีชื่อเสียงไปทั่วโลก เครื่องปั้นดินเผาสังคโลก เป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบ สีเขียวไข่กา สีน้ำตาล สีใส เขียนทับลายเขียนรูปต่าง ๆ มีผิวเคลือบแตกราน สังคโลกเป็นสินค้าออกที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัย ที่ส่งไปจำหน่ายนอกอาณาเขต จนถึงฟิลิปินส์ อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น
ศิลปะอู่ทอง พุทธศตวรรษที่ 17 – 20
อาณาจักรอู่ทอง เป็นอาณาจักรเก่าแก่ก่อนอาณาจักรอยุธยา ซึ่งมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรต่าง ๆ ได้แก่ ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี รวมทั้งสุโขทัย ดังนั้นรูปแบบศิลปะจึงได้รับอิทธิพลของสกุลช่างต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปอู่ทอง คือ พระวรกายดูสง่า พระพักตร์ขรึม ดูเป็นรูปเหลี่ยม คิ้วต่อกันไม่โก่งอย่างสุโขทัยหรือเชียงแสน พระศกนิยมทำเป็นแบบหนามขนุน มีไรพระศก สังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ปลายตัดตรง พระเกตุมาลาทำเป็นทรงแบบฝาชี รับอิทธิพลศิลปะลพบุรี แต่ยุคต่อมาเป็นแบบเปลวเพลิงตามแบบศิลปะสุโขทัย
ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 19 – 24
อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่และมีอายุยาวนานถึง 417 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1893 - 2310 ศิลปะอยุธยาที่เจริญรุ่งเรืองมีหลายแขนง ได้แก่ การประดับมุก การเขียนลายรดน้ำ ลวดลายปูนปั้น การแกะสลักไม้ และ เครื่องปั้นดินเผาลายเบญจรงค์ ฯลฯ ศิลปะการสร้างพระพุทธรูปในสมัยอยุธยาไม่ค่อยรุ่งเรืองนัก ไม่มีลักษณะเฉพาะที่เด่นชัด ลักษณะทั่วไปจะเป็นการผสมผสานศิลปะแบบอื่น ๆ มีพระวรกายคล้ายกับพระพุทธรูปอู่ทอง พระพักตร์ยาวแบบสุโขทัย พระเกตุมาลาเป็นหยักแหลมสูงรูปเปลวเพลิง พระขนงโก่งแบบสุโขทัย สังฆาฏิใหญ่ปลายตัดตรง หรือสองแฉกแต่ไม่เป็นเขี้ยวตะขาบแบบเชียงแสนหรือสุโขทัย ตอนหลังนิยมสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องแบบกษัตราธิราช
ศิลปะรัตนโกสินทร์พุทธศตวรรษที่ 25 – ปัจจุบัน
ศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นการสืบทอดมาจากสกุลช่างอยุธยา ไม่ว่าจะเป็นการเขียนลายรดน้ำ ลวดลายปูนปั้น การแกะสลักไม้ เครื่องเงิน เครื่องทอง การสร้างพระพุทธรูป ล้วนแต่สืบทอดความงามและวิธีการของศิลปะอยุธยาทั้งสิ้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการติดต่อกับชาวต่างชาติมากขึ้นโดยเฉพาะชาติตะวันตก ทำให้ลักษณะศิลปะตะวันตกหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทย และมีอิทธิพลต่อศิลปะไทยในสมัยต่อมา หลังจากการเสด็จประพาสยุโรปทั้ง 2 ครั้งของ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้มีการนำเอาแบบอย่างของศิลปะตะวันตกเข้ามาผสมผสานกับศิลปะไทย ทำให้ศิลปะไทยแบบประเพณี ซึ่งเป็นแบบดั้งเดิม มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปเป็นศิลปะไทยแบบร่วมสมัยในที่สุด ลักษณะของพระพุทธรูปเน้นความเหมือนจริงมากขึ้น เช่น พระศรีศากยทศพลญา ฯ พระประธานพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นพระพุทธรูปปางลีลาโดยการผสมผสานความงามแบบสุโขทัยเข้ากับความเหมือนจริง เกิดเป็นศิลปะการสร้างพระพุทธรูปในสมัยรัตนโกสินทร์
สถาปัตยกรรมไทย Thai Architecture
สถาปัตยกรรมไทย หมายถึงศิลปะการก่อสร้างของไทย อันได้แก่ อาคาร บ้านเรือน โบสถ์ วิหาร วัง สถูป และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ที่มีมูลเหตุที่มาของการก่อสร้าง การก่อสร้างอาคารบ้านเรือนในแต่ละท้องถิ่น จะมีลักษณะผิดแผกแตกต่างกันไปบ้าง ตามสภาพทางภูมิศาสตร์ และคตินิยมของแต่ละท้องถิ่น แต่สิ่งก่อสร้างทางศาสนา พุทธมักจะ มีลักษณะที่ไม่แตกต่างกันมากนัก เพราะมีความเชื่อความศรัทธาและแบบแผนพิธีกรรมที่เหมือน ๆ กัน สถาปัตยกรรมที่มักนิยมนำมาเป็นข้อศึกษา มักเป็น สถูป เจดีย์ โบสถ์ วิหาร หรือพระราชวัง เนื่องจากเป็นสิ่งก่อสร้างที่คงทน มีการพัฒนารูปแบบมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และได้รับการสรรค์สร้างจากช่างฝีมือที่เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งมีความเป็นมาที่สำคัญควรแก่การศึกษา อีกประการหนึ่งก็คือ สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ ล้วนมีความทนทาน มีอายุยาวนานปรากฏเป็นอนุสรณ์ให้เราได้ศึกษาเป็นอย่างดี สถาปัตยกรรมไทย สามารถจัดหมวดหมู่ตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ประเภท คือ สถาปัตยกรรมที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้านเรือน ตำหนัก วังและพระราชวัง เป็นต้น บ้านหรือเรือนเป็นที่อยู่อาศัยของสามัญชนธรรมดาทั่วไป ซึ่งมีทั้งเรือนไม้และเรือนปูน เรือนไม้มีอยู่ 2 ชนิด คือ เรือนเครื่องผูก เป็นเรือนไม้ไผ่ ปูด้วยฟากไม้ไผ่ หลังคามุงด้วยใบจาก หญ้าคาหรือใบไม้ อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า เรือนเครื่องสับ เป็นไม้จริงทั้ง เนื้ออ่อนและเนื้อแข็งตามแต่ละท้องถิ่น หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา พื้นและฝาเป็นไม้จริงทั้งหมด ลักษณะเรือน
ไม้ของไทยในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกัน และโดยทั่วไปแล้วจะมีลักษณะสำคัญร่วมกันคือ เป็นเรือนไม้ชั้นเดียว ใต้ถุนสูง หลังคาทรงจั่วเอียงลาดชัน ตำหนัก และวัง เป็นเรือนที่อยู่ของชนชั้นสูง พระราชวงศ์ หรือ
ใช้เรียกที่ประทับชั้นรองของพระมหากษัตริย์ สำหรับระราชวัง เป็นที่ประทับของพระมหากษัติรย์ พระที่นั่ง เป็นอาคารที่มีท้องพระโรงซึ่งมีที่ประทับสำหรับออกว่าราชการหรือกิจการอื่น 2. สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องศาสนา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในบิรเวณสงฆ์ ที่เรียกว่า วัด ซึ่งประกอบไปด้วยสถาปัตยกรรมหลายอย่าง ได้แก่ โบสถ์ เป็นที่กระทำสังฆกรรมของพระภิกษุ วิหารใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ และกระทำสังฆกรรมด้วยเหมือนกัน กุฎิ เป็นที่อยู่ของพระภิกษุ สามเณร หอไตร เป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎกและคัมภีร์สำคัญทางศาสนา หอระฆังและหอกลอง เป็นที่ใช้เก็บระฆังหรือกลองเพื่อตีบอกโมงยามหรือเรียกชุมนุมชาวบ้าน สถูป เป็นที่ฝังศพ เจดีย์ เป็นที่ระลึกอันเกี่ยวเนื่องกับศาสนา ซึ่งแบ่งได้4 ประเภท คือ
ไม้ของไทยในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกัน และโดยทั่วไปแล้วจะมีลักษณะสำคัญร่วมกันคือ เป็นเรือนไม้ชั้นเดียว ใต้ถุนสูง หลังคาทรงจั่วเอียงลาดชัน ตำหนัก และวัง เป็นเรือนที่อยู่ของชนชั้นสูง พระราชวงศ์ หรือ
ใช้เรียกที่ประทับชั้นรองของพระมหากษัตริย์ สำหรับระราชวัง เป็นที่ประทับของพระมหากษัติรย์ พระที่นั่ง เป็นอาคารที่มีท้องพระโรงซึ่งมีที่ประทับสำหรับออกว่าราชการหรือกิจการอื่น 2. สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องศาสนา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในบิรเวณสงฆ์ ที่เรียกว่า วัด ซึ่งประกอบไปด้วยสถาปัตยกรรมหลายอย่าง ได้แก่ โบสถ์ เป็นที่กระทำสังฆกรรมของพระภิกษุ วิหารใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ และกระทำสังฆกรรมด้วยเหมือนกัน กุฎิ เป็นที่อยู่ของพระภิกษุ สามเณร หอไตร เป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎกและคัมภีร์สำคัญทางศาสนา หอระฆังและหอกลอง เป็นที่ใช้เก็บระฆังหรือกลองเพื่อตีบอกโมงยามหรือเรียกชุมนุมชาวบ้าน สถูป เป็นที่ฝังศพ เจดีย์ เป็นที่ระลึกอันเกี่ยวเนื่องกับศาสนา ซึ่งแบ่งได้4 ประเภท คือ
1. ธาตุเจดีย์ หมายถึง พระบรมธาตุ และเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารี
ริกธาตุของพระพุทธเจ้า
ริกธาตุของพระพุทธเจ้า
2. ธรรมเจดีย์ หมายถึง พระธรรม พระวินัย คำสั่งสอนทุกอย่าง
ของพระพุทธเจ้า
ของพระพุทธเจ้า
3. บริโภคเจดีย์ หมายถึง สิ่งของเครื่องใช้ของพระพุทธเจ้า หรือของพระภิกษูสงฆ์ได้แก่ เครื่องอัฐบริขารทั้งหลาย
4. อุเทสิกเจดีย์ หมายถึง สิ่งที่สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่ระลึกถึงองค์พระพุทธเจ้า เช่น สถูปเจดีย์ ณ สถานที่ทรงประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา ปรินิพพาน และรวมถึงสัญลักษณ์อย่างอื่น เช่น พระพุทธรูป ธรรมจักร ต้นโพธิ์ เป็นต้น